ฟันหน้า ห่าง ร่องฟันกว้าง ปัญหาที่ทำให้ภาพลักษณ์ ดูเปลี่ยนไป
ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ เมื่อต้องยิ้มหรือพูดคุยกับบุคคลทั่วไป ปัญหาฟันห่าง อาจจะเปิดขึ้นได้ทั้งวัยเด็ก และ ผู้ใหญ่ หรือ วัยกลางคนอายุ 45 ปีขึ้นไป
ผลกระทบที่พบบ่อยสำหรับ บุคคลมีภาวะ ฟันห่าง คือ กัด หรือ เคี้ยวอาหาร ได้ยากขึ้น และ อาจจะทำให้ เหงือกอักเสบได้ง่ายกว่า คนปกติทั่วไป
ฟันห่าง เกิดได้ จากหลายสาเหตุ
สาเหตุของฟันห่าง ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของสุขอนามัยช่องปากและฟัน โรคเหงือก หรือ แม้กระทั่งนิสัยบางอย่างที่ทำบ่อยบ่อย ดังนี้
- ความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะใต้ลิ้นกับพื้นด้านล่างของช่องปาก หรือเนื้อเยื่อใต้ริมฝีปากบนกับเหงือก บางคนมีเนื้อเยื่อนี้ยึดติดมากกว่าปกติ ส่งผลให้มีฟันหน้าห่างออกจากกันได้
- ขนาดฟันเล็กกว่าขากรรไกร หากมีฟันขนาดเล็กกว่าขากรรไกรหรือมีขากรรไกรที่ใหญ่เกินไป อาจส่งผลให้ฟันเรียงตัวห่างจากกันเพื่อเติมเต็มพื้นที่ขากรรไกร ซึ่งขนาดของฟันและขากรรไกรมีปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด หากพ่อแม่ฟันห่างก็มีโอกาสที่บุตรหลานจะมีฟันห่างไปด้วย
- เนื้อเยื่อขอบเหงือกเจริญเติบโตมากเกินไป หากมีเนื้อเยื่อขอบเหงือกบริเวณฟันหน้าส่วนบนมากเกินไป อาจไปดันหรือขวางฟันให้แยกออกจากกันจนเกิดช่องห่างมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ภาวะลิ้นดันฟัน เกิดขึ้นในเด็กโตและผู้ใหญ่ที่มีการกลืนต่างจากคนทั่วไป โดยแทนที่ลิ้นจะแตะบริเวณเพดานปากขณะกลืน แต่ลิ้นกลับไปดันฟันหน้า ซึ่งการเกิดแรงกดต่อฟันหน้าอย่างมากเกินไปก็อาจทำให้ฟันห่างได้
- โรคเหงือก การติดเชื้อจนเกิดโรคเหงือกเป็นสาเหตุของฟันห่างได้ เพราะส่งผลให้เกิดการอักเสบและสร้างความเสียหายต่อเหงือกและเนื้อเยื่อที่รองรับฟัน ทำให้ฟันโยกและเกิดช่องว่างระหว่างฟันตามมา ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจสังเกตได้จากอาการเหงือกบวมแดง กระดูกฟันเสียหาย ฟันโยก และมีเลือดออกตามไรฟัน
- ฟันหลุดหรือถอนฟัน การมีฟันไม่ครบหรือมีเหตุให้ต้องถอนฟันแม้แต่ 1 ซี่ ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาฟันห่างได้
- มีฟันเกินงอกขึ้นมา บางคนอาจมีฟันเกินอยู่บริเวณกระดูกขากรรไกรและกันไม่ให้ฟันซี่อื่น ๆ งอกขึ้นมาได้ จนส่งผลให้มีช่องว่างระหว่างฟัน ในขณะที่การถอนฟันที่เกินมาออกไปก็อาจทำให้เกิดช่องว่างได้เช่นกัน
- ติดนิสัยดูดนิ้ว เด็กที่ชอบดูดนิ้วอาจมีฟันหน้าห่างเนื่องจากแรงดันจากการดูดนิ้ว